เครือญาติ

เผ่าพันธุ์ mornitor เส้นทางของลำห้วยจากเนินทรายที่เราจอดแวะดูรอยนากเริ่มมีขนาดความกว้างของลำห้วยเล็กลงเรื่อยๆ จากความกว้างขนาด20เมตรโดยประมาณบัดนี้เหลือ4-5เมตร ความลึกคาดคะเนดูแล้วลึกเอาการอยู่เหมือนกัน ความรกชัฏของลำห้วยเริ่มปรากฏอย่างชัดเจน เส้นทางชักมีความวกไปวนมาอยู่ตลอด การเดินทางเริ่มเคลื่อนไปอย่างช้าๆ พ้นโค้งหักศอกมาได้สักพักมีเสียงสัตว์วิ่งมาจากตลิ่งด้านซ้ายมือ ผมบอกให้หนุ่ยคัดหัวเรือไปที่ต้นเสียงตรงนั้น เปิดหน้ากล้องทันทีพร้อมก้มตัวไปทางด้านหน้า จังหวะที่ผมก้มตัวไปนั้นเองมีเสียงดังผ่านหัวไปอย่างฉิวเฉียด "เหี้ย นี่หว่า"หนุ่ยตะโกนมาจากด้านหลัง ผมบันทึกภาพเสร็จแล้วหันไปมองนายท้ายเรือ "เห็นกี่ตัว"เอ่ยปากถามหนุ่ย "ตัวเดียว อีกตัวมันหลบทัน"หนุ่ยพูดพร้อมฉีกยิ้มจนตาปิด เหี้ย(water mornitor)เป็นสัตว์ป่าที่ผมเชื่อว่ามีประชาชนพูดถึงกันจนติดปากทุกวี่ทุกวันทุกๆพื้นที่ในประเทศ ว่ากันว่าคำว่าเหี้ย มาจากภาษาบาลีที่แปลว่าต่ำช้า พี่เขามีชื่อเล่นหลายชื่อคับ ตัวเงินตัวทอง ตัวกินไก่ หรือจระเข้น้อยบ้าง เป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดใหญ่รองจากมังกรโคโมโดที่อินโดนีเซีย ลำตัวเป็นเกล็ดดำมีลายเป็นดอกวงรีสีเหลื่องพาดยาวตามลำตัว ลิ้นมีสองแฉกใช้รับกลิ่น วงศ์ษาคณาญาติในเมืองไทยของพี่เขาเยอะนะคับ ตะกวดหรือแลน(bengal mornitor)+เห่าช้าง(roughneck mornitor lizard) +เหี้ยดำ(black water mornitor) +แลนดอน(yellow mornitor) +ตุ๊ดตู่(red-headed mornitor) ในผืนป่าใหญ่หรือทุกพื้นที่ เขาจะรับบทบาทเป็นพนักงานเทศบาล คอยเก็บกวาดกำจัดซากกำจัดปฎิกูล แต่บางครั้งก็แอบไปกำจัดไก่สดปลาสดหรือเป็ดของชาวบ้านบ้างตามแต่โอกาสจะอำนวย ถึงกระนั้นก็ไม่พ้นมนุยษ์มีการนำเหี้ยมาบริโภคกันบ้างตามโอกาสจะอำนวยเหมือนกัน โดยไฮไลท์ของการบริโภคอยู่ที่"บ้องตัน"หรือบริเวณโคนหางคับ ว่ากันว่าชั้นเลิศเลยละหละ ดูกันเอาเองเถอะคับขนาดเหี้ยแปลว่าต่ำช้ามนุษย์ยังนำมากินกันหน้าตาเฉย แล้วพวกที่ชอบบริโภคเหี้ยจะกลายเป็นดับเบิ้ล........หรือเปล่าคับ(จงเติมคำในช่องว่างให้ได้ใจความที่สมบูรณ์)